โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
(Cystitis)
เป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะที่มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ
(Urinary Tract Infection: UTI) จนทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น
ซึ่งส่วนใหญ่เกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบได้ในทุกเพศทุกวัย ในระบบขับถ่ายปัสสาวะจะมีไตเป็นตัวกรองของเสียในเลือดและควบคุมระดับความเข้มข้นของสารต่าง
ๆ ในร่างกาย
จากนั้นจะส่งของเสียผ่านท่อไตลงไปเก็บไว้ยังกระเพาะปัสสาวะจนเต็มและขับออกจากร่างกายผ่านทางท่อปัสสาวะ
บางกรณีอาจเกิดการติดเชื้อจนแพร่กระจายจากกระเพาะปัสสาวะไปยังไต
ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นตามมา แต่พบได้ค่อนข้างน้อย
สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุ
แต่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไม่ติดเชื้อแบคทีเรีย
เกิดจากการทำงานของเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะเสียไป
เมื่อเยื่อบุของกระเพาะปัสสาวะฉีกขาดจากการสวนปัสสาวะ มีก้อนนิ่วที่หยาบ
มีเนื้องอก มีพยาธิใบไม้ เมื่อเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะฉีกขาด
จะทำให้แบคทีเรียเข้าไปในเนื้อเยื่อและทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงของเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อกระเพาะปัสสาวะลดลงเนื่องจากความดันในกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้น
กระเพาะปัสสาวะยืดขยาย
คอของกระเพาะปัสสาวะหดรัดตัวหรือท่อปัสสาวะอุดตันจากต่อมลูกหมากโตหรือท่อปัสสาวะตีบ
เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกระเพาะปัสสาสะอักเสบที่พบบ่อย คือ เชื้ออีโคไล
เชื้อนี้จะเข้าไปในท่อปัสสาวะโดยตรงและเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ
แบคทีเรียจะเพิ่มจำนวนในน้ำปัสสาวะที่ขังอยู่จากการถ่ายปัสสาวะออกไม่หมดหรือจากทางเดินปัสสาวะอุดตัน
น้ำปัสสาวะจะช่วยให้แบคทีเรียเพิ่มจำนวนและปัสสาวะมีภาวะเป็นด่างจะทำให้แบคทีเรียเพิ่มจำนวนขึ้นได้
เมื่อมีการติดเชื้อเกิดขึ้นจะทำให้เยื่อเมือกบวมแดง อาจมีเลือดออก
หากมีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างร่วมด้วยและไม่ได้รับการแก้ไขจะกลายเป็นการอักเสบเรื้อรัง
มีพังผืดเกิดขึ้น กระเพาะปัสสาวะเล็กลง ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลงด้วย
ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะขุ่น
ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น อาจปวดหัวเหน่า และปัสสาวะมีเลือดปน
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
เป็นสาเหตุหลักที่พบมากที่สุด
การติดเชื้อแบคทีเรียอาจมาจากเชื้อที่อยู่ภายนอกร่างกายหรือเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ภายในร่างกาย
เช่น เชื้อแบคทีเรีย เอสเชอริเชีย โคไล หรือ อีโคไล (Escherichia Coli: E. Coli) ที่พบอยู่บริเวณลำไส้ของคนเรา
เชื้อเหล่านี้เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะก่อนมีการแบ่งตัวจำนวนมาก
ทำให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการอักเสบขึ้นมา
แต่กลไกในการเกิดโรคนี้ยังไม่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นอย่างไร
นอกจากนี้
ผู้หญิงมักจะติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะได้มากกว่าผู้ชายจากหลายปัจจัย
เช่น ทวารหนักอยู่ในตำแหน่งใกล้ท่อปัสสาวะ ท่อปัสสาวะมีขนาดสั้นกว่าของผู้ชาย หรือการเช็ดก้นจากด้านหลังมาทางด้านหน้าอาจทำให้แบคทีเรียเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
นอกจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน
แต่มักพบได้น้อยกว่าการติดเชื้อ เช่น
§ การใช้ยา ส่วนประกอบในยาบางชนิดอาจมีผลต่อการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ
โดยเฉพาะยาเคมีบำบัด เช่น ยาซัยโคลฟอสฟาไมด์ และยาไอฟอสฟามายด์
§
การฉายรังสีบริเวณช่องเชิงกราน เนื้อเยื่อภายในกระเพาะปัสสาวะบริเวณที่โดนฉายรังสีอาจเกิดการอักเสบและอาจส่งผลต่อกระเพาะปัสสาวะเช่นกัน
การฉายรังสีบริเวณช่องเชิงกราน เนื้อเยื่อภายในกระเพาะปัสสาวะบริเวณที่โดนฉายรังสีอาจเกิดการอักเสบและอาจส่งผลต่อกระเพาะปัสสาวะเช่นกัน
§
สิ่งแปลกปลอมภายนอก การใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการติดเชื้อและทำลายเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบตามมา
สิ่งแปลกปลอมภายนอก การใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการติดเชื้อและทำลายเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบตามมา
§
สารเคมี บางคนอาจมีความไวต่อสารเคมีในผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์อาบน้ำหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น ซึ่งอาจมีสารเคมีบางตัวที่สร้างความระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ
สารเคมี บางคนอาจมีความไวต่อสารเคมีในผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์อาบน้ำหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น ซึ่งอาจมีสารเคมีบางตัวที่สร้างความระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ
§
ปัญหาสุขภาพ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการทำงานผิดปกติของร่างกายหรือโรคประจำตัว เช่นนิ่วในไตต่อมลูกหมากโต หรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง
ปัญหาสุขภาพ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการทำงานผิดปกติของร่างกายหรือโรคประจำตัว เช่นนิ่วในไตต่อมลูกหมากโต หรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง
§
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจเกิดได้ง่ายขึ้นในบุคคลบางกลุ่มหรือบางสภาวะที่มักเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรค
ดังนี้
ผู้หญิงจะเสี่ยงเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้มากกว่าผู้ชาย
เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงจะสั้นกว่า
และตำแหน่งที่เปิดอยู่ใกล้ทวารหนักมากกว่าผู้ชาย
จึงเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า
ซึ่งผู้หญิงเกือบครึ่งอย่างน้อยเคยเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะมาก่อน โดยเฉพาะในช่วงอายุ
24 ปี อาจจะเป็นโรคนี้ได้ 1 ใน 3 คนอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ โดยอาจพบหญิงตั้งครรภ์ 4
ใน 100 คน ที่มักเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบมีเพศสัมพันธ์
ผู้หญิงที่มีการคุมกำเนิดด้วยการใช้ยาฆ่าอสุจิในช่องคลอดอยู่ในวัยหมดประจำเดือน
อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศและท่อปัสสาวะหลังหมดประจำเดือนจนอาจทำให้ป้องกันเชื้อโรคต่างๆได้น้อยลงผู้ที่คาสายสวนปัสสาวะมีความผิดปกติหรือโรคประจำตัวเกี่ยวกับการทำงานของไตกระเพาะปัสสาวะหรือระบบทางเดินปัสสาวะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ
เช่น โรคเอดส์ การใช้ยารักษาโรคที่กดระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบสามารถสังเกตความผิดปกติที่พบได้บ่อยดังนี้
1. ปวดปัสสาวะบ่อย
2. รู้สึกปวดแสบขณะปัสสาวะ
3. น้ำปัสสาวะขุ่นมีปริมาณน้อย
และมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
4. ปวดบริเวณท้องน้อย
5. มีไข้
6. ปัสสาวะมีเลือดปนในบางครั้ง
7. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
มักไม่พบอาการที่ชัดเจน แต่อาจมีอาการอ่อนเพลีย อารมณ์หงุดหงิด ความอยากอาหารลดลง
และอาเจียน
8. สำหรับผู้สูงอายุบางคนแทบไม่พบอาการ
แต่มักจะมีอาการอ่อนเพลีย สับสน หรือมีไข้
การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
แพทย์จะสอบถามผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น
ประวัติการเจ็บป่วย และตรวจร่างกาย
จากนั้นอาจตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีพิเศษอื่นเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ
การตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis) เมื่อผู้ป่วยมีอาการที่น่าสงสัยของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
แพทย์จะให้ผู้ป่วยเก็บตัวอย่างปัสสาวะที่อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียเลือดหรือเม็ดเลือดขาวปนอยู่ในปัสสาวะหรือไม่
หากมีก็จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยในเบื้องต้นได้
การส่องกล้อง (Cystoscopy) เป็นวิธีที่ใช้ตรวจหาความผิดปกติภายในกระเพาะปัสสาวะ
โดยแพทย์จะสอดกล้องขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นท่อยาวผ่านทางระบบทางเดินปัสสาวะหากพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นจะมีการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อบางส่วนมาตรวจในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
วิธีนี้ไม่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคครั้งแรก และใช้เฉพาะกรณีที่คาดว่าตัวโรคเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การติดเชื้อ
การถ่ายภาพทางรังสี (Imaging Tests) เป็นวิธีการใช้รังสีตรวจภายในกระเพาะปัสสาวะ เช่น ก้อนเนื้องอก
โครงสร้างของเนื้อเยื่อ เพื่อหาสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ของการอักเสบ
อาจเป็นการเอกซเรย์หรือการตรวจอัลตราซาวด์ ซึ่งแพทย์จะใช้วิธีนี้ในการวินิจฉัยผู้ป่วยบางรายที่สงสัยภาวะเนื้องอกหรือความผิดปกติอื่นเท่านั้น
การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบสามารถรักษาได้หลายวิธี ดังนี้
การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อ
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงและมีสาเหตุของโรคมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
มักจะรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ไตรเมโทพริม (Trimethoprim)
หรือยาไนโตรฟูแรนโทอิน (Nitrofurantoin) ซึ่งระยะเวลาในการรักษาจะขึ้นอยู่กับสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยและชนิดของแบคทีเรียที่พบในปัสสาวะ
การติดเชื้อแบคทีเรียครั้งแรก อาการมักค่อย
ๆ ดีขึ้นภายในไม่กี่วันหลังการรับประทานยา
โดยจำเป็นต้องรับประทานยาติดต่อกันประมาณ 3 วันไปจนถึงสัปดาห์
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ
ผู้ป่วยควรรับประทานยาอย่างเคร่งครัดตามแพทย์สั่งแม้จะไม่มีอาการในช่วงท้ายเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียให้หมดไปการติดเชื้อซ้ำ
แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาปฏิชีวนะนานขึ้นกว่าเดิม
และอาจให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบปัสสาวะตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมอีกครั้งสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน
แพทย์อาจสั่งจ่ายยาครีมสำหรับใช้ทาช่องคลอด ซึ่งเป็นฮอร์โมนทดแทนเอสโตรเจนที่ช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นเนื่องจากในวัยหมดประจำเดือนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะของร่างกายทำให้แบคทีเรียที่อยู่ในช่องคลอดเสียสมดุล
จึงไวต่อการติดเชื้อได้ง่ายและกระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะ
แม้ว่าจะเป็นโรคไม่รุนแรง
แต่เมื่อได้รับการรักษาโรคที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม
เชื้ออาจแพร่กระจายจากกระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อไตไปจนถึงกรวยไต
ทำให้กรวยไตอักเสบและอาจจะสร้างความเสียหายกับไตอย่างถาวร
ซึ่งผู้ป่วยที่เกิดการติดเชื้อที่ไตมักพบอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน
ปวดหลัง ปวดเอว หนาวสั่น อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะออกมามีเลือดปน
ถ่ายปัสสาวะถี่มากขึ้น หรือรู้สึกปวดขณะถ่ายปัสสาวะเป็นเวลานานหลายชั่วโมง
ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์
เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการแฝงของการติดเชื้อบริเวณอื่นหรือโรคชนิดอื่น
การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบป้องกันได้เฉพาะบางสาเหตุเท่านั้น
แต่อาจลดความเสี่ยงของโรคได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการขับถ่ายและรักษาความสะอาดของร่างกายตามคำแนะนำ
ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีบริเวณอวัยวะเพศ เช่น
สบู่ แป้ง หรือผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำหอม
แต่ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สูตรอ่อนโยน ปราศจากน้ำหอม
2. ไม่ควรกลั้นปัสสาวะโดยไม่จำเป็น
และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน
เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ
3.
ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักทุกวัน
4. ปัสสาวะหลังการมีเพศสัมพันธ์
โดยอาจดื่มน้ำเยอะ ๆ จะช่วยเร่งความรู้สึกให้อยากปัสสาวะได้ เพื่อช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียต่าง
ๆ
5. การเช็ดทำความสะอาดทวารหนัก
ควรเช็ดจากด้านหน้าไปยังด้านหลัง
เพื่อป้องกันเชื้อแพร่กระจายจากทวารหนักไปยังอวัยวะเพศได้ง่าย
6. อาบน้ำแบบฝักบัวแทนการแช่น้ำในอ่างเป็นประจำ
เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
7.
สวมใส่ชุดชั้นในที่มีเนื้อผ้าระบายได้ดี ไม่กักเก็บความอับชื้น
สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ"
ตัวช่วยลดการอักเสบ
1. พลูคาว
(สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ)
พลูคาวเป็นสมุนไพรที่ช่วยแก้อาการอักเสบและการติดเชื้อได้
มีสรรพคุณช่วยรักษาอาการขัดเบา (ปัสสาวะออกกะปริดกะปรอย)
เป็นยาขับปัสสาวะตำรับสมุนไพรจีนโบราณ และรักษาโรคริดสีดวงทวารได้ด้วย
ตัวรากและใบของพลูคาวช่วยในเรื่องของการขับน้ำเหลือง และขับของเสียได้ดี
2. กระเจี๊ยบ
(สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ)
กระเจี๊ยบเป็นพืชสมุนไพรใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะได้ทั้งสิ้น
เมล็ดของกระเจี๊ยบช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ
และช่วยลดอาการปวดแสบท้องน้อยเนื่องจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้อีกด้วย
นอกจากนี้กระเจี๊ยบยังมีสรรพคุณที่น่าสนใจอีกมาก เช่น ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ลดอาการบวมช้ำ และรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้
๓. หญ้าหนวดแมว
(สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ)
ใบของหญ้าหนวดแมวเป็นตัวช่วยที่ดีในการล้างสารพิษ
เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีสาเหตุหลักเกิดจากเชื้อที่คั่งค้างจากปัสสาวะ
การดื่มน้ำหญ้าหนวดแมวต้มสะอาดจะช่วยล้างสารพิษ ลดการอักเสบ บรรเทาอาการปวด
และช่วยขับสารพิษออกทางปัสสาวะได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดขนาดก้อนนิ่วได้ด้วย
4. นางแย้ม
(สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ)
นางแย้มเป็นไม้ดอกที่สวยงาม
จึงไม่ค่อยคุ้นหูนักในเรื่องของการเป็นยาสมุนไพรรักษาโรค
แต่ตามตำราสมุนไพรโบราณพบว่า ใบและรากของนางแย้มช่วยขับปัสสาวะ
รักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะได้ ช่วยให้ปัสสาวะที่ขุ่นข้น มีเลือดปน
ใสสะอาดมากขึ้น ทั้งยังช่วยให้ท่อปัสสาวะสะอาด ขับระดูขาว และของเสียได้
5. มะละกอ
(สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ)
ใครจะรู้ว่าผลไม้อย่างมะละกอก็ช่วยรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
เพราะใบและรากของมะละกอเป็นสมุนไพรชั้นดี ที่ช่วยแก้อาการอักเสบต่างๆ
ได้ดีจนกลายเป็นหนึ่งในส่วนผสมของยาแก้อักเสบ รากของมะละกอช่วยในการขับปัสสาวะ
และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะได้
๖. ตะไคร้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf.
ชื่อสามัญ : Lemon Grass, Lapine
วงศ์ : Poaceae (Gramineae)
ชื่ออื่น : จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
หัวสิงโต (เขมร-ปราจีนบุรี) ตะไคร้แกง (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf.
ชื่อสามัญ : Lemon Grass, Lapine
วงศ์ : Poaceae (Gramineae)
ชื่ออื่น : จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
หัวสิงโต (เขมร-ปราจีนบุรี) ตะไคร้แกง (ทั่วไป)
ส่วนที่ใช้
- ทั้งต้น เก็บได้ตลอดปี
ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บไว้ใช้
- ราก เก็บได้ตลอดปี
ล้างให้สะอาด ใช้สด ใบสด
สรรพคุณ
- ทั้งต้น
1. รสฉุน สุมขุม แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ
2. แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงไฟธาตุ
3. ทำให้เจริญอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย
4. แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ
5. แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ขับปัสสาวะ ประจำเดือนมาผิดปกติ
6. แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้โรคหืด - ราก
1. แก้เสียดแน่น แสบบริเวณหน้าอก ปวดกระเพาะอาหารและขับปัสสาวะ
2. บำรุงไฟธาตุ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ
3. รักษาเกลื้อน แก้อาการขัดเบา - ใบสด – มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง
แก้ไข้
- ต้น – มีสรรพคุณเป็นยาขับลม
แก้ผมแตกปลาย เป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก ใช้ดับกลิ่นคาว แก้เบื่ออาหาร
บำรุงไฟธาตุให้เจริญ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วปัสสาวะพิการ แก้หนองใน
วิธีและปริมาณที่ใช้
- แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
แน่นจุกเสียด ปวดท้อง
-ใช้ลำต้นแก่ๆ ทุบพอแหลก ประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม ) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือประกอบเป็นอาหาร
– นำตะไคร้ทั้งต้นรวมทั้งรากจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อน ต้มกับเกลือ ต้ม 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน 3 วัน จะหายปวดท้อง - แก้อาการขัดเบา
ผู้ที่ปัสสาวะขัดไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม)
– ใช้ต้นแก่สด วันละ 1 กำมือ (ประมาณ 40- 60 กรัม , แห้งหนัก 20- 30 กรัม ) ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
– ใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดิน ฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วไปอ่อนๆ พอเหลือง ชงเป็นชาดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
คุณค่าทางด้านอาหาร
ตะไคร้ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะช่วยเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และยังมีวิตามินเอ รวมอยู่ด้วย
ตะไคร้ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะช่วยเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และยังมีวิตามินเอ รวมอยู่ด้วย
สารเคมี
- ใบ – มีน้ำมันหอมระเหย
0.4-0.8% ประกอบด้วย Citral 75-85 %
Citronellal, Geraniol Methylheptenone เล็กน้อย ,
Eugenol และ Methylheptenol
- ราก – มี อัลคาลอยด์ 0.3%
๗. ทองกวาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma (Lam.) Taub
ชื่อพ้อง : Butea frondosa Wild.
ชื่อสามัญ : Flame of the Forest, Bastard Teak
วงศ์ : Leguminosae-Papilionoideae
ชื่ออื่น : กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ) จอมทอง (ภาคใต้) จ้า (เขมร) ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma (Lam.) Taub
ชื่อพ้อง : Butea frondosa Wild.
ชื่อสามัญ : Flame of the Forest, Bastard Teak
วงศ์ : Leguminosae-Papilionoideae
ชื่ออื่น : กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ) จอมทอง (ภาคใต้) จ้า (เขมร) ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)
ส่วนที่ใช้ : ดอก ยาง ใบ เมล็ด
สรรพคุณ
- ดอก
– รับประทานเป็นยาถอนพิษไข้ แก้กระหายน้ำ
– ผสมเป็นยาหยอดตา แก้เจ็บตา ฝ้าฟาง
– เป็นยาขับปัสสาวะ สมานแผลปากเปื่อย แก้พิษฝี - ยาง – ใช้แก้ท้องร่วง
- ใบ
– ตำพอกฝี และสิว แก้ปวด ถอนพิษ
– แก้ท้องขึ้น ขับพยาธิ แก้ริดสีดวง - เมล็ด
– ขับไส้เดือน
– บดผสมน้ำมะนาว ทาแก้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงและแสบร้อน
ข้อควรระวัง : เนื่องจากหลักฐานทางด้านความเป็นพิษมีน้อย
จึงควรที่จะได้ระมัดระวังในการใช้ และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ
ด้านฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
มีรายงาน 2 ฉบับคือ
- รายงานผลด้านฮอร์โมนเพศหญิง
ผู้วิจัยพบว่า ถ้าใช้สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ในขนาดตั้งแต่ 3.2 มก./กก./วัน
ขึ้นไปมีผลด้านฮอร์โมนเพศหญิง
- รายงานเรื่องการสกัดแยกสารไดโซบิวตริน
(Isobutrin) และ
บิวตริน (Butrin) ซึ่งมีฤทธิ์ป้องกันอันตรายต่อตับเนื่องจากสารพิษ
ได้แก่ คาร์บอน เตทตร้าคลอไรด์ และ กาแลคโตซามีน ได้
สารเคมี – สารเคมีที่พบในดอกทองกวาว คือ Pongamin
(Karanin), Kaempferol, ?-sitosterol, Glabrin, Glabrosaponin, Stearic acid,
Palmitic acid, Butrin, Isobutrin coreopsin, Isocoreopsin, Sulfurein
monospermoside และ Isomonospermoside สารที่พบส่วนใหญ่คือสาร
ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสีดอกทองกวาว มีสารที่มีรสหวานคือ glabrin.
๘. ทานตะวัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus annuus L.
ชื่อสามัญ : Sunflower.
วงศ์ : Asteraceae (Compositae)
ชื่ออื่น : บัวตอง (ภาคเหนือ) ชอนตะวัน (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus annuus L.
ชื่อสามัญ : Sunflower.
วงศ์ : Asteraceae (Compositae)
ชื่ออื่น : บัวตอง (ภาคเหนือ) ชอนตะวัน (ภาคกลาง)
ส่วนที่ใช้ : แกนต้น ใบ ดอก ฐานรองดอก เมล็ด
เปลือกเมล็ด ราก
สรรพคุณ
- แกนต้น – ขับปัสสาวะ
แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่นขาว ไอกรน
แผลมีเลือดออก
- ดอก – ขับลม ทำให้ตาสว่าง
แก้วิงเวียน หน้าบวม บีบมดลูก
- ใบ, ดอก – แก้หลอดลมอักเสบ
- ฐานรองดอก – แก้อาการปวดหัว
ตาลาย ปวดฟัน ปวดท้อง โรคกระเพาะ ปวดประจำเดือน ฝีบวม
- เมล็ด – แก้บิด มูกเลือด
ขับหนองใน ฝีฝักบัว ขับปัสสาวะ เสมหะ แก้ไอ แก้ไข้หวัด
- เปลือกเมล็ด – แก้อาการหูอื้อ
- ราก – แก้อาการปวดท้อง
แน่นหน้าอก ฟกช้ำ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์
วิธีและปริมาณที่ใช้
- แก้อาการปวดหัว ตาลาย ใช้ฐานรองดอกที่แห้งแล้ว
ประมาณ 25- 30 กรัม นำมาตุ๋น กับไข่ 1 ฟอง รับประทานหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง
- แก้อาการช่วยขับปัสสาวะขุ่นขาว
และขับปัสสาวะ ให้ใช้แกนกลางลำต้น ยาวประมาณ 60 ซม. (หรือประมาณ 15 กรัม ) และรากต้นจุ้ยขึ้งฉ่ายราว 60 กรัม
ใช้ต้มคั้นเอาน้ำ หรือใช้ผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน
- แก้อาการปวดท้องโรคกระเพาะ
และปวดท้องน้อยก่อนหรือระยะที่เป็นรอบเดือน ให้ใช้ฐานรองดอก 1 อัน หรือประมาณ 30-
60 กรัม และกระเพาะหมู 1 อัน
แล้วใส่น้ำตาลทรายแดง ประมาณ 30 กรัม
ต้มกรองเอาน้ำรับประทาน
- แก้อาการมูกโลหิต
ให้ใช้เม็ดประมาณ 30 กรัม
ใส่น้ำตาลเล็กน้อย ต้มน้ำนานราว 60 นาที แล้วใช้ดื่ม
- ช่วยลดความดันโลหิต ให้ใช้ใบสด 60 กรัม (แห้ง 30
กรัม ) และโถวงู่ฉิกสด 60 กรัม (แห้ง 30
กรัม ) นำมาต้มเอาน้ำรับประทาน
- แก้อาการปวดฟัน
ให้ใช้ดอกที่แห้งแล้ว ประมาณ 25
กรัม นำมาสูบเหมือนยาสูบ หรือใช้ฐานรองดอก 1 อัน พร้อมรากเกากี้ นำมาตุ๋นกับไข่รับประทาน
- โรคไอกรน
ให้ใช้แกนกลางลำต้นโขลกให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำตาล ทรายขาว
ชงด้วยน้ำร้อนรับประทาน
- แก้อาการไอ
ให้ใช้เมล็ดคั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มกิน
- แก้อาการหูอื้อ
ให้ใช้เปลือกเมล็ดประมาณ 10-
15 กรัม ต้มน้ำรับประทาน
- ขับพยาธิไส้เดือน
ให้ใช้รากสดประมาณ 30 กรัม
เติมน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย ต้มน้ำรับประทาน
- แผลที่มีเลือดไหล
ให้ใช้แกนกลางลำต้นโขลกให้ละเอียดแล้วนำมาพอก บริเวณแผล
สารเคมี : สารเคมีในใบ ถ้านำมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ (0.2%)
มีฤทธิ์สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของพารามีเซียม (paramecium)
และเชื้อแบคทีเรีย Bacillus aureus แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อ
แบคทีเรีย Bacillus coli และนอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยาต้านโรคมาลาเรีย
และช่วยเสริมฤทธิ์ยาควินิน
๙. สับปะรด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ananas comosus (L.) Merr.
ชื่อสามัญ : Pineapple
วงศ์ : Bromeliaceae
ชื่ออื่น : แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่)
เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
สับปะรด (กรุงเทพฯ) ลิงทอง (เพชรบูรณ์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ananas comosus (L.) Merr.
ชื่อสามัญ : Pineapple
วงศ์ : Bromeliaceae
ชื่ออื่น : แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่)
เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
สับปะรด (กรุงเทพฯ) ลิงทอง (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลสบปร สูง 90-100 ซม. ลำต้นใต้ดิน ปล้องสั้น ไม่แตกกิ่งก้านมีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น ใบ
เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนถี่ ไม่มีก้านใบ ใบเรียวยาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
ปลายแหลม ขอบใบมีหนาม แผ่นใบสีเขียวเข้มและเป็นทางสีแดง ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาว
ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเรียงอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอก ก้านช่อใหญ่แข็งแรง
กลีบดอก 3 กลีบ ด้านบนสีชมพูอมม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้
6 อัน เรียบกัน 2 ชั้น ผล
เป็นผลรวมรูปรี โคนกว้าง ปลายสอบ มีใบสั้นเป็นกระจุกที่ปลายผล เรียกว่าตะเกียง
ผลสุกสีเหลืองสดและฉ่ำน้ำ
ส่วนที่ใช้ : ราก หนาม ใบสด ผลดิบ ผลสุก
ไส้กลางสับปะรด เปลือก จุก แขนง ยอดอ่อนสับปะรด
สรรพคุณ
- ราก – แก้นิ่ว
ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี แก้หนองใน แก้มุตกิดระดูขาว
แก้ขัดข้อ
- หนาม – แก้พิษฝีต่างๆ
แก้ไข้ ลดความร้อน ไข้พา ไข้กาฬ
- ใบสด – เป็นยาถ่าย
ฆ่าพยาธิในท้อง ยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
- ผลดิบ – ใช้ห้ามโลหิต
แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ฆ่าพยาธิ และขับระดู
- ผลสุก – ขับปัสสาวะ
ขับเหงื่อ และบำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองใน มุตกิด กัดเสมหะในลำคอ
- ไส้กลางสับปะรด – แก้ขัดเบา
- เปลือก – ขับปัสสาวะ
แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี
- จุก – ขับปัสสาวะ
แก้นิ่ว แก้หนองใน มุตกิดระดูขาว
- แขนง – แก้โรคนิ่ว
- ยอดอ่อนสับปะรด – แก้นิ่ว
วิธีและปริมาณที่ใช้
แก้อาการขัดเบา
ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เหง้าสดหรือแห้งวันละ 1
กอบมือ (สดหนัก 200-250 กรัม แห้งหนัก 90-100
กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75
มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
คุณค่าด้านอาหาร : สับปะรด รับประทานเป็นผลไม้ มีแร่ธาตุและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
สารเคมี
- เหง้า มี Protein
- ลำต้น มี Bromelain,
Peroxidase, Amylase, Proteinase
- ใบ มี Hemicellulose,
Bromelain, Campestanol
- ผล มี Acetaldehyde,
Ethyl acetate, Acetone
- น้ำมันหอมระเหย มี Isobutanol.
https://www.pobpad.com
https://www.honestdocs.co/urinary-tract-disorders/cystitis-inflammation
https://sukkaphapd.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%
https://health.mthai.com/howto/thai-medicine/1245.html